Angry Birds

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เฉลยแนวข้อสอบ



 1. ค.            2. ข.               3. ค.                4. ค.                  5. ข.                 6. ค.
 7.ค.             8. ก.               9. ค.               10. ง.               11. ค.                12. ก.
13. ค.          14. ค.            15. ค.              16. ง.                17. ค.                18. ง.
19. ค.          20. ก.            21. ค.              22. ข.                23. ข.               24. ค.
25. ค.         26. ก.             27. ง.              28. ก.                29. ค.                30. ง.

แนวข้อสอบเรื่องสมบัติของธาตุและสารประกอบ

แนวข้อสอบบทที่ 3
เรื่อง สมบัติของธาตุและสารประกอบ
1.     ธาตุซึ่งมีเลขอะตอมต่อไปนี้  ข้อใดมีค่า IE1 เรียงตามลำดับจากน้อยไปหามาก
 ก. 8, 9, 10, 11, 12                                      ข. 12, 11, 10, 9, 8
 ค. 11, 12, 8, 9, 10                                      ง. 10, 9, 8, 12, 11
2.     พิจารณาธาตุ 3Li , 4Be , 5B และ 6C ค่า IE3 ของธาตุใดมีค่ามากที่สุด
ก. Li                   ข. Be              ค. B            ง. C
3.     ธาตุ Li ทำปฏิกิริยากับธาตุ A ในสารประกอบ X ซึ่งทำปฏิกิริยากับน้ำรุนแรงในสารละลายเป็นเบส เลขออกซิเดชันของ A ในสารประกอบ X มีค่าเป็น -1 สารประกอบ X คืออะไร
ก. Li2O          ข. Li3N           ค. LiH         ง. LiCl
4.     การที่ธาตุทรานซิชันสามารถเกิดสารประกอบได้หลายอย่าง เพราะ
  ก. มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมาก                        ข. เป็นโลหะที่จัดไว้เป็นกลุ่มพิเศษ
  ค. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า                  ง. พลังงานไอออไนเซชันลำดับ 1-3 มีค่าต่ำ
5.     สารประกอบต่อไปนี้ข้อใดมีสี
  ก. K2SO4 , MnCl2                                        ข. K2Cr2O7 , Fe(OH)3
  ค. Cl2O , Co(NO3)2                                     ง. Ni(NH3)2+6 , RbCl
6.    สิ่งที่เหมือนกันในระหว่างธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในหมู่เดียวกันในตารางธาตุ คือ
ก.       มีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 เท่ากัน
ข.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนเหมือนกัน
ค.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนของระดับพลังงานชั้นนอกสุดเหมือนกัน
ง.       มีขนาดใกล้เคียงกันมาก
7.    สารประกอบคลอไรด์ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุด คือ
 ก. NaCl                                                    ข. CaCl2
 ค. NCl3                                                     ง. LiCl
8.     เลขออกซิเดชันของซีนอนในสารประกอบใดมีค่าสูงที่สุด
 ก. Na4XeO6                      ข. XeOF4               ค. H6XeO6                  ง. XeF4
9.    ถ้าอะตอมของอาร์เซนิกได้รับ 3 อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น จะได้อนุภาคที่มีการจัดอิเล็กตรอน เหมือนกับอะไร
ก. อาร์กอน                                              ข. โบรมีน
ค. คลิปตอน                                            ง. แอนติโมนี
กำหนดเลขอะตอมของธาตุดังนี้

10.    ธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุดและไอออนที่มีขนาดเล็กที่สุดตามลำดับ ที่ถูกต้องควรเป็นข้อใด
ก.   C,A2+                           ข. A,B+                   ค. B,C                         ง. C,B+
11.    ในกรณีที่พบว่ามีโลหะโซเดียมเหลือใช้จากปฏิกิริยา เมื่อต้องการจะทำลายโลหะโซเดียมให้เป็นสารประกอบที่เฉื่อยลง ท่านควรจะเติมสารใดต่อไปนี้
ก. น้ำบริสุทธ์                                          ข. น้ำผสมกรดเล็กน้อย
ค. เอธานอล                                            ง. เฮกเซน
12.    ธาตุใดต่อไปนี้มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากที่สุด
ก. F2                                                        ข. O2
ค. Na                                                      ง. Cl2
13.    สาร A เป็นธาตุมีสมบัตินำไฟฟ้าได้ ทั้งซัลไฟด์และคลอไรด์ของ A เป็นของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ สาร A ควรเป็นธาตุใด
ก. Ca                                  ข. N                         ค. C                          ง. Sn
14.    เมื่อนำ CaO ไปละลายน้ำ จะได้สารใดเป็นผลิตภัณฑ์
ก. CaOH                           ข. H2                         ค. Ca(OH)2                 ง. O2
15.    ข้อใดเป็นประโยชน์ของสารประกอบคลอไรด์
ก. ใช้ฆ่าเชื่อโรค                                     ข. ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกสี
ค. ใช้เป็นตัวทำละลาย                            ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.
16.    ธาตุที่เป็นกาซชนิดหนึ่งมีจุดหลอมเหลว  และจุดเดือดต่ำมาก ไม่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนและออกซิเจน ธาตุนี้ควรจะอยู่รวมกลุ่มกับธาตุใด
ก. โลหะ                                                 ข. อโลหะ
ค. กึ่งโลหะ                                             ง. ธาตุมีตระกูล
17.    แร่แคสซิเทอไรต์ มีสูตรเคมีอย่างไร
ก. SiO2                                                  ข.Fe2O3
ค. SnO2                                                 ง. ZnS
18.    ธาตุในกลุ่มใดที่ประกอบด้วยธาตุแทรนซิชันทั้งหมด
 ก. Fe  Si  Sb  Rb                                    ข. Fe  Al  Cu  Fr
ค. Fe  Co  Te  AT                                  ง. Fe  Cu  Cr  Mn
19.    ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
 1. รังสีแอลฟา มีสัญลักษณ์เขียนแทนเป็น 42He
2. รังสีบีตามีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก
3. รังสีแกมมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวสั้นมาก ไม่มีประจุและมวล
ก. ข้อ 1. และ 2     ข. ข้อ 2 และ 3   ค. ข้อ 1 และ 3        ง. ข้อ 1,2 และ 3
20.    จากปฏิกิริยาต่อไปนี้

X,Y และ Z คืออนุภาคใดตามลำดับ

21.    ข้อใดเกี่ยวกับรังสีแอลฟา
ก. ไม่สามารถทะลุทะลวงผ่านกระดาษหรือโลหะบาง ๆ ได้
ข. ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอย่างละสองอย่าง
ค. เมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้าจะเบี่ยงเบนไปทางขั้วบวก
ง. วิ่งผ่านอากาศอาจทำให้อากาศแตกตัวเป็นไอออนได้
22.    ชนิดของการแผ่รังสีต่อไปนี้ รังสีใดไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก
ก. รังสี-X                          ข. รังสีแกมมา              ค. รังสีบีตา                ง. นิวตรอน
23.    กระบวนการใดที่มีเลขอะตอมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย
ก. การแผ่รังสีแอลฟา                                          ข. การแผ่รังสีบีตา  
ค. การแผ่รังสีแกมมา                                            ง. การแผ่รังสีโปซิตรอน
24.   ไอโซโทปกัมมันตรังสีมีอัตราการสลายตัวภายหลัง 96 นาที เหลือเพียงหนึ่งส่วนแปดของมัน เดิมที่มีอยู่ ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีมีค่าเท่าไร
ก. 12.0 นาที                       ข. 24.0 นาที                ค. 32.0 นาที              ง. 48.0  นาที
25.   ธาตุกัมมันตรังสีใดที่ใช้ในการคำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ คือ
ก. I-131                     ข. Co-60                      ค. C-14                       ง. P-32
26.    ปฏิกิริยาลูกโซ่นี้ถ้าไม่มีการควบคุม จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงเรียกว่าอะไร
ก. ลูกระเบิดปรมาณู      ข. ระเบิดลูกโซ่              ค. ระเบิดนิวเคลียร์     ง. ถูกทุกข้อ
27.    ธาตุกัมมันตภาพรังสี Co – 60 นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายยกเว้นข้อใด
ก. รักษาโรคมะเร็ง                                                          ข. ใช้ในการถนอมอาหาร
ค. กำจัดวัชพืช                                                                 ง. การหาอายุวัตถุโบราณ
28.    การใช้ไอโซโทปของธาตุกัมมันตภาพรังสีตรวจหา รอยรั่ว รอยตำหนิ ของโลหะเป็นการใช้ประโยชน์ทางด้านใด
ก. อุตสาหกรรม                                                               ข. ธรณีวิยา
ค. การแพทย์                                                                    ง. การขนส่ง
29.    วิธีการตรวจสอบธาตุกัมมันตรังสีวิธีใดที่ปลอดภัยและได้ผลแม่นยำที่สุด
ก. ใช้ฟิลม์หุ้มสารที่ตรวจสอบ                                      ข. ใช้สารเรืองแสงตรวจสอบ
ค. ใช้เครื่องมือไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์                      ง. หลอดรังสีแคโทด
30.    ธาตุกัมมันตรังสีนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางยกเว้นข้อใด
ก. ด้านการแพทย์                                                              ข. ด้านเกษตรกรรม
ค. ด้านอุตสาหกรรม                                                         ง. ด้านบันเทิง




วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พันธะโลหะ


            พันธะโลหะ ( Metallic Bond ) เกิดจากการรวมตัวของอะตอมของโลหะหลาย ๆ อะตอมเข้าด้วยกัน เนื่องจากโลหะมีสถานะเป็นของแข็งจึงทำให้มีอนุภาคอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นอิเล็กตรอนวงนอกสุดของโลหะจึงหลุดออกจากอะตอมหนึ่ง ๆ เป็นอิส... อ่านเพิ่มเติม

พันธะไอออนิก


                 พันธะไอออนิก คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก(cation) และไอออนลบ(anion) อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะ  โดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจา... อ่านเพิ่มเติม

พันธะโคเวเลนต์


              พันธะโคเวเลนต์  คือ  พันธะเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมของธาตุอโลหะกับธาตุโลหะที่เข้ามาสร้างแรงยึดเหนี่ยวต่อกัน  เนื่องจากธาตุอโลหะจะมีสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีและยากต่อการสูญเสียอิเล็กตรอน  ดังนั้นอิเล็กต... อ่านเพิ่มเติม

สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ


            จากการศึกษาการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ ช่วยให้ทราบว่าตารางธาตุในปัจจุบันจัดธาตุเป็นหมู่และเป็นคาบโดยอาศัยสมบัติบางประการที่คล้ายกัน สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบซึ่งได้แก่ ขนาดอะตอม รัศมีไอออน พลังงาน ไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน จุดห... อ่านเพิ่มเติม

ตารางธาตุ



                เริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกันนักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสม... อ่านเพิ่มเติม